ข้อสังเกตต่อคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ของ คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549

หลังจากที่ตุลาการรัฐธรรมนูญได้ตัดสินคดีแล้ว ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินและคำวินิจฉัยคดีอย่างกว้างขวางอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 คนได้ศึกษาคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และเสนอบทวิเคราะห์เพื่อแสดงความเห็นทางกฎหมายต่อคำวินิจฉัย [19]ประเด็นที่เป็นที่วิพากษ์กันมาก เช่น:

  • การตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี อาจจะผิดหลักการใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายต่อบุคคล นอกจากนี้ คำประกาศของคปค. ฉบับที่ 27 (ที่กำหนดโทษตัดสิทธิ์) ยังละเมิด มาตรา 25 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอีกด้วย [20]
  • ความชอบธรรมขององค์กร ทั้งในเรื่องของการจัดตั้ง (มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร) และความเป็นอิสระและเป็นกลางของคณะตุลาการ [20]

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการรัฐศาสตร์ ให้ความเห็นว่า "คำตัดสินยุบพรรคคือการรัฐประหารซ้ำ เพื่อตอกย้ำให้ผลทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลัง 19 กันยายน ทวีความมั่นคงขึ้น" [21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 http://www.baanjomyut.com/library/law/98.html http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/25/WW10_WW10... http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/06/WW10_WW10... http://prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=m... http://prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=m... http://prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=m... http://prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=m... http://prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=m... http://prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=m... http://www.komchadluek.net/2007/05/31/a001_120817....